การศึกษาโครงสร้างของรังนก ด้วยแสงซินโครตรอน

Last updated: 1 ก.ค. 2563  |  1458 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การศึกษาโครงสร้างของรังนก ด้วยแสงซินโครตรอน

          รังนกที่เรารับประทานกัน สารอาหารหลักที่ผู้บริโภคได้รับก็คือ ไกลโคโปรตีน (Glycoprotein) ชนิดต่างๆ ซึ่งมีส่วนช่วยในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ยิ่งไปกว่านั้น รังนกยังประกอบไปด้วย สารคาร์โบไฮเดรต ประมาณ 27% ซึ่งให้พลังงานแก่ผู้บริโภค โดยเฉพาะ กรดไซอะลิค ที่พบได้ในน้ำนมแม่ช่วงแรกคลอด เป็นส่วนประกอบสำคัญส่วนหนึ่งของเยื่อหุ้มเซลล์สมอง ดังนั้น การรับประทานรังนกจึงมีส่วนช่วยในการสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ความจำและการพัฒนาสมอง

          การศึกษาโครงสร้างของรังนกที่ได้มาจากการทำรังของนกนางแอ่นในแต่ละครั้ง ในแต่ละช่วงของปีจากนกนางแอ่นกลุ่มเดียวกัน กำลังถูกศึกษาและวิจัยโดย ผศ.ดร.นิรันดร มาแทน อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากรมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับทีมนักวิจัยของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน เทคนิคทางวิทยาศาสตร์ที่นำมาใช้ในการดูโครงสร้างของรังนกคือ เทคนิคการกระเจิงของรังสีเอกซ์ เนื่องจากลักษณะการกระเจิงของรังสีเอกซ์ของรังนกนั้นมีลักษณะจำเพาะ ซึ่งขึ้นอยู่กับโครงสร้างทางธรรมชาติของรังนกเอง แสดงรูปแบบการกระเจิงของรังสีเอกซ์ของรังนก ที่วัดได้ที่สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ณ จังหวัดนครราชสีมา ลักษณะการกระเจิงของรังสีเอกซ์ของรังนกที่วัดได้แสดงให้เห็นว่าโมเลกุลน้ำลายที่อยู่ในรังนกนางแอ่นเรียงตัวกันจนเกิดเป็นชั้นของโมเลกุลที่เป็นระเบียบขึ้นมา ดังภาพ

         จากผลการวิจัยในเบื้องต้นนี้ ทำให้ทราบว่าโครงสร้างโมเลกุลภายในรังนกมีลักษณะเฉพาะเจาะจง โดยทีมนักวิจัยจะทำการศึกษาความแตกต่างของโครงสร้างและส่วนประกอบของรังนกในแต่ละฤดูกาล ซึ่งผลการศึกษาจะมีส่วนในการช่วยชี้วัดถึงคุณภาพของรังนกในช่วงเวลาต่างๆ ของปี

 

ที่มา - การศึกษาโครงสร้างของรังนก - สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้