รังนกในประวัติศาสตร์ไทย - สมัยกรุงศรีอยุธยา P.1

Last updated: 1 ก.ค. 2563  |  1870 จำนวนผู้เข้าชม  | 

รังนกในประวัติศาสตร์ไทย - สมัยกรุงศรีอยุธยา P.1

        ประวัติศาสตร์ไทยมีมาอย่างยาวนาน ทำการค้าขายกับต่างชาติมาหลายร้อยปี สินค้าที่มีการติดต่อซื้อขาย ส่งออกมาเป็นระยะเวลานานมีหลายชนิด และหนึ่งในสินค้าส่งออกของไทย นั่นก็คือ "รังนก" สินค้ารังนกเริ่มมีบทบาทในประวัติศาสตร์ตั้งแต่เมื่อไหร่ สามารถศึกษาได้จากบทความนี้    

กรุงศรีอยุธยาตอนต้น : รายได้ที่สำคัญมาจาก “ส่วยสาอากร” แต่ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดเกี่ยวกับบทบาทของรังนกอีแอ่นในรัชสมัยนี้

กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย : รายได้จากสินค้ารังนกอีแอ่นทำในรูปแบบของ “ส่วยรังนก” เนื่องจากรังนกอีแอ่นเป็นสินค้าที่มีค่าและเป็นสินค้าต้องห้าม ไม่สามารถซื้อขายระหว่างกันได้ รัฐบาลเป็นผู้ผูกขาดการจัดเก็บโดยใช้ไพร่ เรียกว่า "ส่วยรังนก" เป็นผู้เก็บรวบรวมรังนกอีแอ่นให้กับนายอากร ผู้เป็นตัวแทนที่รับอำนาจมาจากพระมหากษัตริย์ และในขณะเดียวกันนักศึกษาประวัติศาสตร์บางท่านกลับมีความเห็นโดยอ้างตามจดหมายเหตุลาร์ลูแบร์ที่บันทึกว่า รังนกอีแอ่นเป็นสินค้าอนุญาตให้มีการซื้อขายอย่างเสรี

        จึงสรุปได้ว่าผู้ปกครองไม่ได้จัดเก็บรายได้จากรังนกอีแอ่นในพื้นที่ภาคใต้ แต่ให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีรังนกอีแอ่นจัดเก็บรังนกอีแอ่นได้อย่างเสรี ค้าขายในพื้นที่ภาคใต้และหัวเมืองมลายูเท่านั้น ไม่ได้ส่งไปกรุงศรีอยุธยา โดยมีการจัดเก็บรังนกอีแอ่นทั้งในฝั่งทะเลตะวันออกและฝั่งทะเลตะวันตก โดยเฉพาะในเมืองชุมพร ไชยา สงขลา สตูล ปลิศ ไทรบุรี

       จะเห็นได้ว่า รังนก ได้เริ่มมีบทบาทในประวัติศาสตร์ไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว เพียงแต่ไม่ได้เป็นที่กล่าวถึงมากนัก เนื่องจากเป็นสินค้าภายในเฉพาะพื้นที่และการจัดเก็บที่ต้องใช้ความชำนาญและเชี่ยวชาญในงานนั้นๆ แต่ก็มีหลักฐานที่แสดงถึงบทบาทของรังนกในประวัติศาสตร์ไทยที่ถูกกล่าวถึงบ้าง โดยจะกล่าวถึงหัวข้อนี้ในบทความถัดไป

 

ที่มา - Law-Theses : ปัญหาการกํากับดูแลการเก็บรังนกอีแอ่นจากสิ่งปลูกสร้างจากเอกชน. ภัทรทร วันวงษ์ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์.) 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้